การลดขยะทะเล และควบคุมการประมงผิดกฏหมายในไทย
- napatsornikg
- 6 พ.ย. 2567
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 4 ธ.ค. 2567

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการลดขยะทะเล และป้องกันการประมงที่ผิดกฏหมาย โดยกรมทรัพยากรทางทะเลร่วมกับชายฝั่ง (DMCR) ได้ร่วมมือกับหน่วยงานนานาชาติในการปรับปรุงระบบจัดการขยะ และควบคุมการประมงที่ไม่เป็นธรรม (IUU Fishing)
แนวทางการลดขยะทะเล
ประเทศไทยเผชิญปัญหาขยะพลาสติกในทะเลอย่างรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และระบบนิเวศทั้งระบบ กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศกับท้องถิ่นในการจัดทำโครงการเก็บขยะ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกที่มาจากการประมง และการบริโภคทั่วไป นอกจากนี้เทคโนโลยีการจัดการขยะที่ทันสมัยยังถูกนำมาใช้ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์กรองขยะในแม่น้ำลำคลอง
เพื่อลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ทะเล อีกทั้งยังมีโครงการรณรงค์ให้ชุมชนชายฝั่งใช้พลาสติกให้น้อยลงส่งเสริมการลดใช้พลาสติกครั้งเดียวในหมู่บ้านประมง และชุมชนชายฝั่ง
การควบคุมการประมงผิดกฏหมาย (IUU Fishing)
ประเทศไทยได้ดำเนินการควบคุมการประมงที่ผิดกฏหมายอย่างจริงจังด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจ และติดตามเรือประมง เช่น ระบบติดตามเรือ (VMS) การสังเกตการ์ณผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ซึ่งใช้กับเรือประมงขนาดใหญ่เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการประมง และความโปร่งใส ข้อมูลจากระบบเหล่านี้ช่วยวิเคราะห์ ป้องกันการจับปลามากเกินไป ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาทรัพยากรทางทะเล นอกจากนี้ไทยยังได้กำหนดโควต้าการจับสัตว์น้ำตามฤดูกาล พร้อมฝึกอบรมชาวประมงให้มีความรู้เกี่ยวกับการทำประมงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
การปรับปรุง และพัฒนาเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรทะเล อีกทั้งยังปกป้องความสมดุลทางนิเวศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม และอนาคตชองระบบนิเวศทางทะเล ทาง อิคิไกซีฟู้ด ยังต้องการสนับสนุนปลาไทย ปลาดิบไทย ให้กลายเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนในการบริโภคอาหารทะเลที่มีคุณภาพ
Comentários