การละลายน้ำแข็งปลาต่างจากการบ่มเปียกยังไง (wet-aging) อย่างไร?
- napatsornikg
- 8 พ.ย. 2567
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 12 ธ.ค. 2567

การจัดการคุณภาพของปลาหลังการจับมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการรักษาความสด และรสชาติ
ไม่ว่าจะเป็นการละลายน้ำแข็งหรือการบ่มแบบเปียก (wet-aging) ซึ่งแต่ละวิธีจะมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน มาดูกันว่าการละลายน้ำแข็ง และการบ่มปลาแบบเปียกแตกต่างกันอย่างไร
การละลายน้ำแข็งปลาคืออะไร?
การละลายน้ำแข็งปลาเป็นกระบวนการที่ทำให้ปลาซึ่งถูกแช่แข็งกลับสู่สภาพที่สามารถนำไปปรุงได้ โดยการละลายน้ำแข็งที่ถูกต้องช่วยรักษาเนื้อสัมผัส และรสชาติของปลา กระบวนการนี้สำคัญในการรักษาความสดของเนื้อปลา อีกทั้งหลีกเลี่ยงการเสียคุณภาพจากการละลายน้ำแข็งผิดวิธี
วิธีการละลายน้ำแข็งปลาอย่างปลอดภัย
แช่เย็นในตู้เย็น: เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะช่วยให้เนื้อปลาละลายน้ำแข็งอย่างช้าๆในอุณหภูมิต่ำ ป้องกันการเสื่อมสภาพ และลดการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
แช่ในน้ำเย็น: หากต้องการละลายเร็วขึ้น ให้วางปลาลงในถุงกันน้ำ และแช่ในน้ำเย็น การเปลี่ยนน้ำทุกๆ 30นาทีจะช่วยรักษาอุณหภูมิ
หลีกเลี่ยงน้ำร้อนหรืออุณหภูมิสูง: การใช้น้ำร้อนหรือปล่อยให้น้ำแข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง อาจทำให้ปลาสูญเสียความชุ่มชื้น และคุณภาพของเนื้อ
การบ่มปลาแบบเปียก (Wet-aging) คืออะไร?
การบ่มปลาแบบเปียก (Wet-aging Fish) เป็นกระบวนการที่ทำให้เอนไซม์ในเนื้อปลาทำงานเพื่อย่อยโปรตีนบางส่วน ทำให้รสชาติ และเนื้อสัมผัสของปลาเข้มข้นขึ้น กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในสภาวะที่ควบคุมอุณหภูมิกับความชื้น โดยปกติแล้วจะบ่มในถุงสุญญากาศและในอุณหภูมิ 0–3°C เป็นระยะเวลา 3-7 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา การบ่มแบบเปียกจะช่วยให้ปลามีรสชาติที่กลมกล่อมยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการบ่มปลาแบบเปียก
รสชาติที่ลึกซึ้งขึ้น: การบ่มทำให้รสชาติของปลาเข้มข้น และกลมกล่อมขึ้นจากการย่อยของเอนไซม์ตามธรรมชาติ
เนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น: การบ่มเปียกช่วยให้เนื้อปลามีความนุ่ม เคี้ยวง่ายขึ้น เหมาะสำหรับการทำซาชิมิ และเมนูปลาเกรดพรีเมียม
ความแตกต่างระหว่างการละลายน้ำแข็ง และการบ่มปลาแบบเปียก
ปัจจัย | การละลายน้ำแข็งปลา | การบ่มปลาแบบเปียก(wet-aging) |
วัตถุประสงค์ | ทำให้ปลาที่แช่แข็งกลับสู่สภาพพร้อมปรุง | เพิ่มรสชาติ และทำให้เนื้อสัมผัสนุ่มขึ้น |
วิธีการ | แช่แย็นหรือแช่ในน้ำเย็น | บ่มในถุงสูญญากาศที่อุณหภูมิควบคุม |
ผลลัพธ์ | เนื้อปลาเหมือนกับตอนสด | เนื้อปลามีรสชาติเข้มข้น และสัมผัสที่นุ่มขึ้น |
การละลายน้ำแข็ง และการบ่มแบบเปียกมีความสำคัญในการจัดการคุณภาพของปลา การละลายน้ำแข็งช่วยให้ปลากลับสู่สภาพพร้อมปรุง และรัการสชาติ ในขณะที่การบ่มเปียก(wet-aging) ช่วยเพิ่มรสชาติ และเนื้อสัมผัสให้นุ่มเหมาะสำหรับการนำไปทำเมนูพิเศษเช่น ซาชิมิ ปลาดิบ หรือเมนูที่ต้องการรสชาติที่เข้มข้น
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
Q: การบ่มปลาแบบเปียกเหมาะสำหรับปลาทุกชนิดหรือไม่?
A: การบ่มเปียกเหมาะสำหรับปลาบางชนิดที่ต้องการรสชาติ และเนื้อสัมผัสพิเศษ เช่น ปลาช่อนทะเล ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว แต่ไม่เหมาะกับปลาที่มีไขมันต่ำ
Comments